สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ซื้อบ้านเพื่อทำเรือนหอก่อนจดทะเบียนสมรส เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว

 

จำเลยที่ 1 ซื้อบ้านและที่ดินเพื่อเป็นเรือนหอ อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อบ้านและที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 บ้านและที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6030/2549

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,065,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 912,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสก่อนร่วมกันซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 194945 แขวงคลองกุ่ม เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ้งจำเลยที่ 1 กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสามแยกไฟฉาย โดยจดทะเบียนจำนองทรัพย์ดังกล่าวเป็นประกัน ต่อมาธนาคารฟ้องบังคับจำนองและศาลพิพากษาให้ยึดทรัพย์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงทำสัญญากู้เงินโจทก์ ภายหลังกู้ยืมเงินแล้ว จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระงวดละ 20,000 บาท รวม 11 งวด แล้วไม่ชำระอีกเนื่องจากไม่มีเงิน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันแล้ว
จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 912,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 มกราคม 2542) ต้องไม่เกิน 153,000 บาท ตามที่โจทก์ขอ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

 

 

โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท แทนจำเลยที่ 2
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยที่ 1 ซื้อบ้านและที่ดินโดยกู้เงินจากธนาคาร ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสกัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้บ้านและที่ดินมาก่อนที่จะจดทะเบียนสมรส บ้านและที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471 (1) ที่โจทก์นำสืบว่า บ้านและที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็เป็นเพียงการคาดคะเนตามความคิดเห็นของโจทก์และนางสาวอรอนงค์พยานโจทก์เท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า บ้านและที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตรงกันมาว่า บ้านและที่ดินเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนจำเลยที่ 2

 

 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่